วันพุธที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

7 เทคนิคการเรียนให้เก่งเป็นเทพได้ไม่ยาก!!!

7 เทคนิคการเรียนเก่งเป็นเทพได้ไม่ยาก!!!


          ในชีวิตวัยเรียนใครๆก็คง อยากเรียนเก่ง เพราะคนที่เรียนเก่งมีข้อได้เปรียบกว่าคนที่เรียนไม่เก่งมากมาย ไม่ว่าจะเป็นโอกาสที่จะสอบเข้าโรงเรียนที่มีชื่อเสียง มหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงที่มากกกว่า อีกทั้งยังเป็นความภาคภูมิใจให้กับพ่อแม่อีกด้วยถ้าหากว่ามีลูกเรียนเก่ง บางคนอาจะเสียเงินไปเรียนพิเศษมากมายโดยหวังว่าตัวเองจะเรียนเก่งขึ้น แต่วันนี้ Top-A tutor มี 7 เทคนิคการเรียนเก่ง ที่จะทำให้น้องๆเรียนเก่งขึ้นทันตา โดยไม่ต้องเหนื่อยกับการเรียนพิเศษมากเกินความจำเป็นครับ ลองนำ เคล็ดลับเรียนเก่งเหล่านี้ไปปฏิบัติตามดูครับ
1. พักผ่อนให้เพียงพอ
          การพักผ่อนอย่างเพียงพอเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมากถ้า อยากเรียนเรียนเก่ง เพราะถ้าหากว่าเราพักผ่อนไม่เพียงพอจะทำให้ช่วงเวลาเรียนของเรานั้น ไม่สดชื่น สมองไม่แล่น และอาจถึงขั้นหลับในห้องเรียนได้ ซึ่งจะนำไปสู่ความไม่เข้าใจในเนื้อหาที่เรียนในชั่วโมงดังกล่าวนั่นเอง
          ดังนั้นเราจึงแนะนำให้น้องๆพักผ่อนกันให้เพียงพอโดยควรนอนวันละ 6-8 ชั่วโมง เพื่อให้ในช่วงเวลาเรียนนั้นสมองสามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ ซึ่งจะทำให้น้องๆเข้าใจเนื้อหาที่เรียนได้อย่างท่องแท้นั่นเอง
 
 
2. กล้าถามเมื่อสงสัย
 
          เทคนิคการเรียนเก่ง ข้อ2เป็นสิ่งที่ขัดกับนักเรียนไทยมากที่สุดเพราะข้อเสียที่สำคัญของเด็กไทยอย่างหนึ่งนั่นคือการไม่กล้าถามคำถามเมื่อสงสัย อาจเพราะกลัวว่าเพื่อนจะมองว่าโง่ หรืออายที่จะยกมือถามอาจารย์ แต่นั่นจะทำให้น้องๆไม่เข้าใจเนื้อหาที่เรียนได้เลยแหละ เพราะเมื่อเก็บความไม่เข้าใจไว้หนึ่งคำถาม การเรียนต่อไปที่ต้องใช้พื้นฐานจากความเข้าใจเรื่องก่อนหน้า น้องๆก็จะไม่เข้าใจเพราะยังคงไม่เข้าใจบทเรียนก่อนหน้า และจะทำให้การเรียนของน้องๆมีแต่คำถามที่ไม่เข้าใจเต็มไปหมด ดังนั้นถ้า อยากเรียนเก่ง "กล้าถาม" เถอะครับ การถามคำถามอาจารย์ในชั้นเรียนไม่ใช่เรื่องน่าอับอาย หรือไม่ได้หมายความว่าคนที่ถามนั้นโง่ หลายๆครั้งคำถามที่น้องถามในห้องเรียนก็เป็นคำถามที่น่าสนใจ จนทำให้อาจารย์อึ้งได้เหมือนกันนะครับ
 
 
3. มีสมาธิในเวลาเรียน
 
          เคล็ดลับเรียนเก่ง ข้อต่อมาคือการมีสมาธิ ในเวลาเรียนนั้นต้องอย่าวอกแวกไปกับสิ่งที่รบกวนสมาธิทั้งหลายรอบๆตัว เช่น เพื่อนชวนคุย เพื่อนคุยกันเสียงดัง เสียงเตะบอลจากสนามบอล เสียงก่อสร้างข้างๆโรงเรียน และอื่นๆอีกมากมาย สิ่งรบกวนบางอย่างเช่น เพื่อนชวนคุุย เพื่อนคุยกันเสียงดัง เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้โดยการไม่นั่งในบริเวณใกล้ๆ ก็ควรหลีกเลี่ยง การเรียนอย่างมีสมาธินั้นจะทำให้น้องๆเข้าใจบทเรียนและทำคะแนนสอบได้ดีอย่างแน่นอน เพราะสิ่งที่อาจารย์ออกข้อสอบก็ต้องเป็นสิ่งที่พูดในชั้นเรียนนั่นแหละ
 
4. จับประเด็นให้ได้
          คนที่เรียนเก่งอาจไม่ได้เก็บทุกคำพูดของอาจารย์ได้ แต่ต้องเป็นคนที่จับประเด็นสำคัญในบทเรียนนั้นๆได้ การจับประเด็นนั้น เป็นเทคนิคการเรียนเก่ง ที่สามารถทำได้ง่ายๆโดยตั้งใจฟังว่าเนื้อหาไหนที่อาจารย์พูดย้ำๆ พูดว่าตรงจุดนี้สำคัญ หรือจุดนี้เคยออกข้อสอบ เมื่อจับประเด็นสำคัญได้ก็อย่าลืมขีดเส้นใต้หรือไฮไลท์ไว้ เพื่อที่เวลากลับมาอ่านทบทวนจะได้เน้นอ่านบริเวณเนื้อหาที่สำคัญ
5. อ่านเนื้อหาคร่าวๆก่อนเรียน
          การอ่านเนื้อหาคร่าวๆไปก่อนเรียนเป็นสิ่งที่ควรทำถ้าหากมีเวลา เพราะการที่ได้อ่านเนื้อหาไปแล้วคร่าวๆนั้นจะทำให้พอที่จะจับประเด็นได้ว่าเนื้อหาที่กำลังจะเรียนนั้นพูดถึงเรื่องอะไร อีกทั้งเมื่ออ่านเนื้อหาไปก่อนเรียนนั้นจะทำให้เรามีข้อสงสัยในบางประเด็น แล้วเมื่อเรียนในห้องเรียนจะได้ถามข้อสงสัยเหล่านั้นกับอาจารย์ผู้สอนได้ทันที
6. อย่าสักแต่ว่าจด
          การเรียนในห้องเรียนนั้นอย่าเอาแต่จดสิ่งที่อาจารย์เขียนบทกระดาน ต้องฟังคำอธิบาย และทำความเข้าใจสิ่งที่อาจารย์พูดด้วย เพราะหลายๆครั้งที่เอาแต่จด โดยไม่ฟังและทำความเข้าใจเลย เราจะพบว่าเมื่อนำสิ่งที่จดนั้นกลับมาอ่านอีกครั้ง จะรู้สึกไม่เข้าใจเนื้อหาที่จดมาเลย
7. สอนเพื่อนๆในเรื่องที่เข้าใจ
          มีงานวิจัยจำนวนมากมายได้พิสูจน์มาแล้วว่า วิธีการเรียนที่ทำให้จดจำได้ยาวนานที่สุดคือ "การสอน"  เพราะในการสอนนั้นผู้สอนจะต้องเข้าใจในเนื้อหาอย่างแท้จริง รู้ว่าเนื้อหาตรงจุดไหนสำคัญหรือไม่สำคัญ และสามารถลำดับเนื้อหาที่จะสอนเพื่อให้ผู้ฟังเข้าใจได้ ดังนั้นการสอนเพื่อนๆจะทำให้น้องๆได้ทำความเข้าใจเนื้อหานั้นๆอย่างเป็นระบบ ทำให้น้องๆได้ทบทวนความรู้ ความเข้าใจของตัวเอง และทำให้มีแต่เพื่อนๆรักเรา เมื่อเราไม่เข้าใจตรงจุดไหนพวกเขาก็พร้อมที่จะอธิบายให้น้องฟังจนเข้าใจ

วันอังคารที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

เทคนิคการเดาข้อสอบครูขั้นเทพ!!!

เทคนิคการเดาข้อสอบครูขั้นเทพ


          ในชีวิตของเด็กนักเรียนวัยเรียน และวัยทำงานบางคน ก็คงจะหลีกหนีการที่จะต้องสอบไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นการสอบในชั้นเรียนปกติที่อาจแบ่งเป็น midterm final หรือจะเป็นการเตรียมสอบเพื่อเรียนต่อในโรงเรียนที่มีชื่อเสียง หรือมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียง วันนี้ Top-A tutor บทความเกี่ยวกับเทคนิคการเดาข้อสอบขั้นเทพมาฝากทุกคนครับ

1. เทคนิคการตัดช็อยส์
          การตัดช้อยส์เป็นวิธีการเดาข้อสอบพื้นฐานที่ทุกๆคนคงใช้อยู่เสมอ โดยการเลือกช้อยส์หรือคำตอบที่ไม่ถูกต้องแน่ๆหรือไม่เกี่ยวข้องออกไปก่อน การตัดช้อยส์เป็นการเพิ่มความน่าจะเป็นที่จะเลือกคำตอบถูกเพิ่มขึ้นจาก 25% (ในกรณีที่เดา) เป็น 66% 50% หรือ 100% ได้ในกรณีที่สามารถตัดช้อยส์แล้วเหลือเพียงคำตอบเดียว 
2. ช้อยส์ที่มีความขัดแย้งกันเอง มักมีช้อยส์นึงที่ถูก
          เมื่อน้องๆเจอโจทย์ที่ให้ช๊อยส์ที่มีความขัดแย้งกันเอง โดยทั่วไปมักจะมีข้อใดข้อนึงถูก เช่น น้องมั่นใจว่าคำตอบในโจทย์ข้อหนึ่งเป็นจำนวนเต็มแน่ๆ แล้วมีช้อยส์ 1) x เป็นจำนวนเต็มคู่ 2) x เป็นจำนวนเต็มคี่ คำตอบที่ถูกต้องมักจะเป็นช้อยส์ใดช้อยส์หนึ่งในสองช้อยส์นี้อย่างแน่นอน
3. การประมาณคำตอบ
          การประมาณคำตอบเป็นเทคนิคที่มีความสำคัญโดยเฉพาะอย่างยิ่งในวิชาฟิสิกส์และคณิตศาสตร์ ที่จะช่วยให้น้องๆสามารถตัดช้อยส์ในข้อสอบได้หลายข้อเลยทีเดียว เช่น โจทย์บอกว่า ผู้ชาย 3 คนสร้างบ้าน 3 หลังเสร็จในระยะเวลา 5 วัน ถามว่าผู้ชาย 2 คนสร้างบ้าน 4 หลังเสร็จในระยะเวลากี่วัน ในข้อนี้น้องๆสามารถประมาณได้เลยว่า คำตอบต้องไม่น้อยกว่า 5 วันแน่ๆเพราะ คนก็น้อยลง จำนวนบ้านที่ต้องสร้างก็เพิ่มขึ้น ดังนั้นจึงเป็นไปไม่ได้อย่างแน่นอนที่จะใช้เวลาลดลง
4. ช้อยส์ที่คำตอบเหมือนกัน จะไม่มีข้อใดถูก
          ในการทำข้อสอบ ในบางครั้งช้อยส์ที่โจทย์ให้อาจมีความหมายเหมือนกันได้ ซึ่งหมายความว่าช้อยส์ทั้งสองช้อยส์นั้นเป็นช้อยส์หลอกนั่นเอง เช่น อาจเจอช้อยส์ที่ว่า 1) ช่วยให้ผ้าแห้งเร็ว 2) ช่วยลดระยะเวลาในการทำให้ผ้าแห้ง ทั้งสองช้อยส์นี้มีความหมายเหมือนกันดังนั้นจึงสามารถตัดสองช้อยส์นี้ออกได้ทั้งคู่ (ช้อยส์นี้เป็นเพียงแค่ตัวอย่าง ในโจทย์จริงช้อยส์จะมีความยากกว่านี้นะครับ)
5. ลองวาดรูป
          เทคนิคนี้ใช้บ่อยในการทำโจทย์คณิตศาสตร์เรื่องภาคตัดกรวยและเรขาคณิตวิเคราะห์ และอาจนำไปประยุกต์ใช้ในเรื่องอื่นๆก็ได้ เช่น โจทย์ให้หาจุดตัดของกราฟ y=-x+5 กับ y=x+3 จากการวาดกราฟคร่าวๆ ทำให้สามารถบอกได้ว่าจุดตัดอยู่ในจตุภาคที่ 1 ดังนั้นช้อยส์ที่คำตอบอยู่ในจตุภาคอื่นๆ ก็สามารถตัดออกไปได้

6. เลือกคำตอบที่ตอบมาน้อยที่สุด
          ในการทำข้อสอบนั้น น้องๆอาจข้ามข้อที่ยังไม่มั่นใจในคำตอบ หรือยังหาคำตอบไม่ได้ไปก่อนแล้วไปทำข้ออื่นๆที่สามารถทำได้ก่อน  หลังจากนั้นให้กลับมาทำในข้อสอบที่ข้ามไป ถ้าหากทำไม่ได้แนะนำให้เลือกเดาคำตอบที่ตอบไปน้อยที่สุด เช่น ข้อสอบมี 100 ข้อ โดยส่วนใหญ่ผู้ออกข้อสอบมักจะพยายามเฉลี่ยคำตอบให้ตอบ ก ข ค ง พอๆกัน ดังนั้นคำตอบไหนที่ยังตอบไม่ถึง 25 ข้อ ก็ควรจะเดาคำตอบนั้น อย่างน้อยๆ ก็อาจดีกว่าการสุ่มเลยที่มีโอกาสถูกเพียงแค่ 25%
7. แทนค่าช้อยส์
          การแทนค่ากลับมีประโยชน์อย่างมากในการทำข้อสอบ เพราะนอกจากจะช่วยเช็คคำตอบแล้ว ในบางครั้งอาจทำให้ได้คำตอบเร็วกว่าการคิดแบบตรงๆเลยละ แต่อย่าลืมพยายามตัดช้อยส์ก่อนนำช้อยส์ไปแทนค่าในโจทย์นะ จะช่วยให้การทำข้อสอบเร็วและแม่นยำขึ้นมากเลยละ
8. ใช้ข้อสอบข้ออื่นให้เป็นประโยชน์
          ในการทำข้อสอบโดยเฉพาะข้อสอบยากๆ โจทย์อาจมีบทความสั้นๆมาเป็นข้อมูลให้ก่อนถามคำถามเกี่ยวกับบทความนั้นๆ ในบางครั้งบทความเหล่านี้นอกจากจะเป็นคำถามสำหรับเราแล้ว ยังเป็นข้อมูลที่ให้ความรู้สำหรับเราด้วยซึ่งอาจนำไปประยุกต์ใช้ในการตัดช้อยส์ในข้อสอบข้ออื่นก็เป็นได้
9. เดาใจคนออกข้อสอบ
          ในบางครั้ง ข้อสอบบางข้อนั้นอาจจะออกไม่ดีทำให้มีช้อยส์ที่กำกวมและอาจเป็นคำตอบได้หลายช้อยส์ ถ้าหากน้องๆตกอยู่ในสถานการณ์นั้นจริง แนะนำให้เดาใจคนออกข้อสอบโดยการคิดว่า ถ้าหากคนออกข้อสอบต้องการให้ตอบคำตอบนี้ คำถามควรจะถามว่าอะไร แล้วคำตอบไหนที่คำถามที่คนออกควรจะถาม ตรงกับคำถามในโจทย์ ข้อนั้นแหละคือคำตอบ
ที่มา https://www.dek-d.com/education/29782/

วันศุกร์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

ข้อสอบวิชาการศึกษาชุดที่ 2 40 ข้อ พร้อมเฉลย "การพัฒนาผู้เรียน"

แบบทดสอบ “วิชาการศึกษา” การบริหารจัดการในชั้นเรียน แจกฟรีโดยhttps://www.facebook.com/TutorKruFree/

แบบทดสอบวิชาการศึกษาชุดที่ 2 40 ข้อ พร้อมเฉลย
1.สมรรถนะครูตามสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วย?
1.สมรรถนะ หลัก/รอง
2.สมรรถนะ เด่น/เน้น
3.สมรรถนะ หลัก/ประจำสายงาน*
4.สมรรถนะ ดี/ยึดปฏิบัติ

2.สมรรถนะหลักของครู (Core Competency) มีกี่สมรรถนะ?
1. 3 สมรรถนะ
2. 4 สมรรถนะ
3. 5 สมรรถนะ*
4. 6 สมรรถนะ

3.ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่สมรรถนะหลักของครู (Core Competency)?
1.การบริการที่ดี
2.การพัฒนาตนเอง
3.การพัฒนาผู้เรียน*
4.จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพครู

4.สมรรถนะประจำสายงานของครู (Functional Competency) มีกี่สมรรถนะ?
1. 3 สมรรถนะ
2. 4 สมรรถนะ
3. 5 สมรรถนะ
4. 6 สมรรถนะ*

5.ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่สมรรถนะประจำสายงานของครู (Functional Competency)?
1.การบริหารจัดการชั้นเรียน
2.ภาวะผู้นำครู
3.การบริหารจัดการหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้
4.การพัฒนาตนเอง*

6.สมรรถนะที่สำคัญของผู้เรียนตามหลักสูตรแกนกลาง 51 มีกี่สมรรถนะ?
1. 3 สมรรถนะ
2. 4 สมรรถนะ
3. 5 สมรรถนะ*
4. 6 สมรรถนะ

7.ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่สมรรถนะที่สำคัญของผู้เรียนตามหลักสูตรแกนกลาง 51?
1.ความสามารถทางด้านการโน้มน้าว*
2.ความสามารถทางด้านการคิด
3.ความสามารถในการแก้ปัญหา
4.ความสามารถในการสื่อสาร
8.กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามหลักสูตรแก่นกลาง 51 มีกี่กิจกรรม อะไรบ้าง?
1. 2 กิจกรมแนะแนว/กิจกรรมนักเรียน
2. 2  กิจกรมแนะแนว/กิจกรรมเพื่อสังคม
3. 3 กิจกรมแนะแนว/กิจกรรมนักเรียน/กิจกรรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
4. 3 กิจกรมแนะแนว/กิจกรรมนักเรียน/กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์*

9.เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนให้รู้จักตนเองสอดคล้องกับกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนทางด้านใด?
1. กิจกรรมนักเรียน
2. กิจกรรมแนะแนว*
3. กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์
4. ทุกกิจกรรมรวมกัน

10.เป็นกิจกรรมที่มุ่งพัฒนาความมีระเบียบวินัยความเป็นผู้นำผู้ตามที่ดีสอดคล้องกับกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนทางด้านใด?
1. กิจกรรมนักเรียน*
2. กิจกรรมแนะแนว
3. กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์
4. ทุกกิจกรรมรวมกัน

11.เป็นที่กิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้บำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม ชุมชน และถ้องถิ่น?
1. กิจกรรมนักเรียน
2. กิจกรรมแนะแนว
3. กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์*
4. ทุกกิจกรรมรวมกัน

12.กิจกรรมชุมนุม ชมรม เป็นกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนทางด้านใด?
1. กิจกรรมนักเรียน*
2. กิจกรรมแนะแนว
3. กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์
4. ทุกกิจกรรมรวมกัน

13.กิจกรรมลูกเสือ นักศึกษาวิชาทหารเป็นกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนทางด้านใด?
1. กิจกรรมนักเรียน*
2. กิจกรรมแนะแนว
3. กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์
4. ทุกกิจกรรมรวมกัน

14.เกณฑ์การตัดสินผลการประเมินรายกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนวัดจากสิ่งใด?
1.เวลาเข้าร่วมกิจกรรม
2.การปฏิบัติกิจกรรม
3.ผลงาน/ชิ้นงาน/คุณลักษณะของผู้เรียน
4.ทุกข้อรวมกัน*
15.ข้อใดคือผลการประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน?
1.ผ่าน/ไม่ผ่าน*
2.ดีเยี่ยม/ดี/พอใช้
3.ดีเยี่ยม/ดี/พอใช้/ปรับปรง
4.ดี/พอใช้/ปรับปรุง

16.ลูกเสือสำรองใช้สอนในระดับชั้นอะไร?
1.ป.1 – ป.3*
2.ป.4 – ป.6
3.ม.1 – ม.3
4.ม.4 – ม.6
17.ลูกเสือสามัญใช้สอนในระดับชั้นอะไร?
1.ป.1 – ป.3
2.ป.4 – ป.6*
3.ม.1 – ม.3
4.ม.4 – ม.6
18.ลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ใช้สอนในระดับชั้นอะไร?
1.ป.1 – ป.3
2.ป.4 – ป.6
3.ม.1 – ม.3*
4.ม.4 – ม.6
19.ลูกเสือวิสามัญใช้สอนในระดับชั้นอะไร?
1.ป.1 – ป.3
2.ป.4 – ป.6
3.ม.1 – ม.3
4.ม.4 – ม.6*

2.ข้อใดเป็นระดับของลูกเสือสำรอง?
1.ดาวดวงที่ 1 *
2.ลูกเสือโลก
3.ลูกเสือตรี
4.ลูกเสือหลวง

21.ข้อใดเป็นระดับของลูกเสือลูกเสือสามัญ?
1.ดาวดวงที่ 1
2.ลูกเสือโลก
3.ลูกเสือตรี*
4.ลูกเสือหลวง

22.ข้อใดเป็นระดับของลูกเสือลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่?
1.ดาวดวงที่ 1
2.ลูกเสือโลก*
3.ลูกเสือตรี
4.ลูกเสือโท

23.การรวมกลุ่มของผู้เรียนที่มีความสนใจ ความถนัดในเรื่องเดียวกันและร่วมปฏิบัติกิจกรรมให้บรรลุวัตถุประสงค์เรียกว่า?
1.ชุมนุม*
2.ชมรม
3.ภารกิจ
4.งานอดิเรก

24.การรวมกันของกลุ่มผู้เรียนที่มีความมุ่งหมายอย่างใดอย่างหนึ่งร่วมกันการจัดตั้งมีการกำหนดวัตถุประสงค์เรียกว่า?
1.ชุมนุม
2.ชมรม*
3.ภารกิจ
4.งานอดิเรก

25.หัวใจของการแนะแนวคือ?
1.การบริการ
2.การแนะนำ
3.การแนะแนว
4.การบริการให้คำปรึกษา*

26.ขั้นตอนแรกในการดำเนินการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนคือ?
1.ศึกษากรอบความเป็นไปได้
2.อบรมวิธีการใช้โปรแกรม DMC
3.การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล*
4.แนะนำนักเรียนถึงกิจกรรมนักเรียน

27.เสียชีพอย่าเสียสัตย์เป็นคติพจน์ของลูกเสือ?
1.ลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่
2.ลูกเสือสามัญ
3.ลูกเสือสำรอง
4.ลูกเสือทุกประเภท*

28.มองไกลเป็นคติพจน์ของลูกเสือ?
1.ลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่*
2.ลูกเสือสามัญ
3.ลูกเสือสำรอง
4.ลูกเสือวิสามัญ(วิชาพิเศษ)

29.ทำดีที่สุดเป็นคติพจน์ของลูกเสือ?
1.ลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่
2.ลูกเสือสามัญ
3.ลูกเสือสำรอง*
4.ลูกเสือวิสามัญ(วิชาพิเศษ)
30.จงเตรียมพร้อมเป็นคติพจน์ของลูกเสือ?
1.ลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่
2.ลูกเสือสามัญ*
3.ลูกเสือสำรอง
4.ลูกเสือวิสามัญ(วิชาพิเศษ)

31.บริการเป็นคติพจน์ของลูกเสือ?
1.ลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่
2.ลูกเสือสามัญ
3.ลูกเสือสำรอง
4.ลูกเสือวิสามัญ(วิชาพิเศษ)*

32.กองลูกเสือสำรองประกอบด้วยลูกเสือกี่หมู่?
1. 2 6 หมู่ หมู่ละ 4-6 คน*
2. 2 6 หมู่ หมู่ละ 6-8 คน
3.3. – 5 หมู่ หมู่ละ 4-6 คน
4. 3. – 5 หมู่ หมู่ละ 6-8 คน

33.กองลูกเสือสามัญประกอบด้วยลูกเสือกี่หมู่?
1. 2 6 หมู่ หมู่ละ 4-6 คน
2. 2 6 หมู่ หมู่ละ 6-8 คน*
3.3. – 5 หมู่ หมู่ละ 4-6 คน
4. 3. – 5 หมู่ หมู่ละ 6-8 คน

34.กองลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ประกอบด้วยลูกเสือกี่หมู่?
1. 2 6 หมู่ หมู่ละ 4-6 คน
2. 2 6 หมู่ หมู่ละ 6-8 คน
3.4 – 6 หมู่ หมู่ละ 4-6 คน
4. 4 – 6 หมู่ หมู่ละ 6-8 คน*

35.การคัดกรองนักเรียนจะแยกนักเรียนออกเป็นกี่กลุ่มในระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน?
1. 2 กลุ่ม ปรกติ/เสี่ยง*
2. 2 กลุ่ม ปรกติ/พิเศษ
3. 3 กลุ่ม ปรกติ/เสี่ยง/พิเศษ
4. 3 กลุ่ม ปรกติ/เสี่ยง/ส่งต่อ

36.ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนหากพฤติกรรมของนักเรียนนั้นไม่ดีขึ้นควรทำอย่างไร?
1.ส่งต่อภายใน
2.ส่งต่อภายนอก
3.ส่งเข้าคุก
4.เลือกข้อ 1 หรือ 2*

37.เป้าหมายของการแนะแนวคือ?
1.เด็กสามารถลดปัญหาของตัวเองลง
2.เด็กสามารถให้คำปรึกษาในการใช้ชีวิตร่วมกันได้
3.เด็กสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ดีในทุกด้าน*
4.เด็กสามารถเข้าใจโลกและอยู่ร่วมโลกได้สบาย

38.เด็กที่ชอบเรียนรู้ทางโสตประสารทควรจะประกอบอาชีพเป็น?
1.นักการเมือง
2.นักจิตวิทยา
3.นักกีฬา
4.ข้อ 1 กับ ข้อ 2*

39.เราควรทำอะไรก่อนคัดกรอกนักเรียน?
1.รู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล
2.รู้จักนักเรียนในภาพรวม
3.รู้จักตนเองก่อน
4.ไม่มีข้อถูก

40.เด็กมักจะอ่อนไหวต่อการติเตียน เยาะเย้ยถากถาง เป็นพฤติกรรมของระดับชั้นใด?
1.ป.1 – ป.3*
2.ป.4 – ป.6
3.ม.1 – ม.3
4.ม.4 – ม.6
41.ครูควรสอนเรื่องเพศศึกษาให้กับเด็กวัยใดมากที่สุด?
1.ป.1 – ป.3
2.ป.4 – ป.6
3.ม.1 – ม.3*
4.ม.4 – ม.6

42.เด็กจะมีการเจริญเติบโตเต็มที่และมีความสนใจในร่างกายของตัวเองมากเป็นพฤติกรรมของระดับชั้นใด?
1.ป.1 – ป.3
2.ป.4 – ป.6
3.ม.1 – ม.3
4.ม.4 – ม.6*

43.การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ กล่าวไว้ในกฎหมายใด
1. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๑
2. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ *
3. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๓
4. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๔

44.กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดนโยบายการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สองภายในปีการศึกษาใด?
1.พ.ศ. 2552 2561*
2... 25532562
3.พ.. 25542563
4.พ.. 25542563

45.ข้อใดเป็นประเด็นหลักของเป้าหมายปฏิรูปการศึกษา?
1.ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการบริหารและการจัดการศึกษา
2.เพิ่มโอกาสทางการศึกษาและการเรียนรู้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ
3.พัฒนาคุณภาพ มาตรฐานการศึกษา และการเรียนรู้ของคนไทย
4.ทุกข้อที่กล่าวมา*

46.คุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามหลักสูตรแกนกลางมีกี่ประการ?
1.5 ประการ
2.6 ประการ
3.7 ประการ
4.8 ประการ*