วันเสาร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2562

หลักการเขียน แผนการจัดการเรียนรู้แบบBackward Design



ตอนที่ 1
หลักการทั่วไปของ Backward Design
1.1 ความหมาย
Backward Design เป็นการออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่ยึดเอาหลักฐานแสดงผลการเรียนรู้ มาเป็นเกณฑ์ในการบ่งบอกถึงความสำเร็จของการจัดการเรียนรู้ ในการออกแบบการจัดการเรียนรู้แบบนี้ผู้สอนต้องเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ที่ตอบคำถามหลักตามลำดับ 4 คำถาม ได้แก่
1. มีเป้าหมายในการจัดการเรียนรู้ด้านความรู้ความคิด (K) ด้านกระบวนการ (P) และด้าน คุณธรรม จริยธรรมหรือค่านิยม (A) อย่างไรบ้าง
2. ต้องการได้หลักฐานที่เป็นชิ้นงาน / ผลงานใดบ้าง ที่แสดงว่านักเรียนมีคุณลักษณะตาม
เป้าหมายที่ได้ระบุไว้
3. มีการกำหนดระดับคุณภาพ สำหรับใช้ในการประเมินผลงาน/ชิ้นงานอย่างไรบ้าง
4. มีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้อย่างไรบ้างที่ทำให้นักเรียนได้ผลงาน/ชิ้นงานที่เป็นหลักฐาน
ว่าเกิดการเรียนรู้ตามเป้าหมาย
1.2 ส่วนประกอบของแผนการจัดการเรียนรู้
ส่วนประกอบของแผนการจัดการเรียนรู้แบบ Backward Design คล้ายคลึงกับแผนการจัดการเรียนรู้ทั่วไป เพียงแต่มีการเพิ่มหัวข้อหลัก 2 หัวข้อ ได้แก่ ผลงาน/ชิ้นงานที่เป็นหลักฐานแสดงผลการเรียนรู้และระดับคุณภาพของผลงาน/ชิ้นงาน จึงกล่าวได้ว่าองค์ประกอบของแผนการจัดการเรียนรู้แบบ Backward Design มีดังต่อไปนี้
1. ชื่อเรื่อง
2. เป้าหมายการเรียนรู้
3. สาระสำคัญ
4. ผลงานที่แสดงผลการเรียนรู้
5. การประเมินผลงาน
6. กิจกรรมการเรียนรู้
7. สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้
8. สรุปผลการเรียนรู้

ตอนที่ 2
การเขียนส่วนประกอบของแผนการจัดการเรียนรู้
2.1 การเขียนเป้าหมาย
เป้าหมายก็คือจุดประสงค์สุดท้ายหรือจุดประสงค์ปลายทาง ซึ่งมี 3 ด้าน ได้แก่
2.1.1 ด้านความรู้ความคิด มักใช้พฤติกรรม บอก (ระบุสิ่งที่จำได้) อธิบาย (ระบุสิ่งที่จำได้
และขยายความหรือยกตัวอย่างประกอบได้)
2.1.2 ด้านกระบวนการ เป็นการนำเอาความรู้ไปประยุกต์ใช้ หรือการจัดกระทำข้อมูลความรู้ให้อยู่ในรูปที่ผู้อื่นเข้าใจง่าย หรือการใช้ความรู้ในการตัดสินใจเลือกหรือไม่เลือก พฤติกรรมที่เหมาะกับการนำมาใช้ได้แก่ เขียน concept mapping เขียน mind mapping สรุปความรู้วางแผนการดำเนินงาน เขียนบรรยายความ อ่านออกเสียง ออกแบบ เป็นต้น
2.1.3 ด้านคุณธรรมจริยธรรมและค่านิยม เป็นความรู้สึกนึกคิดรู้ดีรู้ชั่ว รู้ว่าควรทำหรือไม่
ควรทำ พร้อมกับปฏิบัติในสิ่งดีๆตามความรู้สึกนึกคิดนั้นๆ พฤติกรรมที่เหมาะกับการนำมาใช้
ได้แก่ แสดงความคิดเห็น แสดงความรู้สึก เป็นต้น
หมายเหตุ แต่ละแผนการจัดการเรียนรู้ไม่จำเป็นต้องระบุเป้าหมายครบทั้ง 3 ด้าน ทั้งนี้
ขึ้นอยู่กับธรรมชาติของเนื้อหาว่าเหมาะกับเกิดการเรียนรู้ด้านใดบ้าง แต่ที่มักขาดไม่ได้คือด้าน
ความรู้ความคิด
2.2 การเขียนสาระสำคัญ
การเขียนสาระสำคัญมีการเขียนได้หลายแนวแต่การเขียนที่ทำให้ได้สาระสำคัญสมบูรณ์
สามารถบ่งบอกถึงเป้าหมายการเรียนรู้ หัวข้อเรื่องและแก่นของเนื้อหาต้องเขียนให้ครบ 3 ส่วนคือ
1. หลักการ คือแก่นของเนื้อหา
2. เนื้อหาสาระ คือชื่อหัวข้อเรื่องที่ใช้สอน
3. คุณลักษณะที่พึงประสงค์ คือส่วนที่เป็นเป้าหม
ตัวอย่างที่ 1
 การอ่านออกเสียงร้อยแก้วที่ถูกต้องตามหลักการอ่านมีความสำคัญต่อการคุณภาพ
ของการอ่าน การศึกษาเรื่องการอ่านออกเสียงร้อยแก้ว ทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ
หลักการอ่านออกเสียงและสามารถอ่านออกเสียงร้อยแก้วถูกต้องตามหลักการอ่า

ตัวอย่างที่ 2
การวิเคราะห์รายการค้าเป็นภารกิจสำคัญของผู้ประกอบการค้า การศึกษาเรื่องการ
วิเคราะห์รายการค้า ทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความหมายและหลักการของการ
วิเคราะห์รายการค้าและเห็นความสำคัญของการวิเคราะห์รายการค้า
ตัวอย่างที่ 3
 เครื่องมือและอุปกรณ์ในการปลูกไม้ดอกไม้ประดับเป็นปัจจัยสำคัญต่อความสำเร็จ
ของการปลูกไม้ดอกไม้ประดับ การศึกษาเรื่องเครื่องมือและอุปกรณ์ในการปลูกไม้ดอกไม้ประดับ
ทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประโยชน์ วิธีเก็บรักษาและการออกแบบเครื่องมือและ
อุปกรณ์การปลูกไม้ดอกไม้ประดับ
ตัวอย่างที่ 4
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมทำให้เกิดผลดีต่อการดำรงชีวิตทุกด้าน
การศึกษาเรื่อง change (I need a change) ทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรมทั้ง
ด้านดีและดานไม่ดีของตนเองและสามารถวางแผนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเองได้
ตัวอย่างที่ 5
คำซ้อนเป็นคำที่สร้างขึ้นเพื่อเพิ่มจำนวนคำในภาษาไทยสำหรับใช้ในการสื่อสาร
การศึกษาเรื่องคำซ้อน ทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการสร้างคำซ้อน
ตัวอย่างที่ 6
พุทธจริยาหมายถึงแนวทางการปฏิบัติหน้าที่อย่างสมบูรณ์ของพระพุทธเจ้า
การศึกษาเรื่องพุทธจริยา ทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความหมายและประเภทของพุทธจริยา
ตัวอย่างที่ 7
ความสำเร็จของการปั้นรูปขึ้นอยู่กับความรู้เกี่ยวกับหลักการปั้นและความพร้อมของ
วัสดุ อุปกรณ์และเครื่องมือที่ใช้ในการปั้น การศึกษาเรื่องการปั้นรูป ทำให้เกิดความรู้ความ
เข้าใจเกี่ยวกับหลักการปั้นรูป วัสดุที่ใช้ในการปั้นรูป อุปกรณ์และเครื่องมือที่ใช้ในการปั้นรูป

2.3 การกำหนดผลงานที่แสดงผลการเรียนรู้
ผลงานที่แสดงผลการเรียนรู้จะเป็นผลงานประเภทใดและมีกี่ชิ้นนั้น ขึ้นอยู่กับเป้าหมาย
การเรียนรู้ เช่น
เป้าหมายการเรียนรู้ ผลงานที่แสดงผลการเรียนรู้
ด้านความรู้ความคิด
-อธิบายหลักการสร้างคำซ้อนได้
ด้านกระบวนการ
-เขียน concept mapping เรื่องการสร้างคำซ้อนได้ข้อสรุปหลักการสร้างคำซ้อน
concept mapping เรื่องการสร้างคำซ้อน
หมายเหตุ ในที่นี้ควร เลือก concept mapping เรื่องการสร้างคำซ้อนเพียงผลงานเดียว
เพราะ concept mapping เป็นผลงานที่ต้องใช้ความสามารถทางสติปัญญาสูงกว่าการเขียนข้อสรุป
นั่นคือ ถ้าด้านความรู้และด้านกระบวนการเป็นเรื่องเดียวกันก็ควรเลือกด้านกระบวนการเป็นผลงานสำหรับด้านคุณธรรมจริยธรรมและค่านิยม เป็นสิ่งที่ยากต่อการประเมินด้านการปฏิบัติในระยะเวลาอันสั้น เพราะต้องคอยสังเกตพฤติกรรมที่เป็นนิสัย แต่ถ้าจะประเมินเพียงความรู้สึกหรือเจคติก็สามารถประเมินจาก การแสดงความคิดเห็น ว่าเห็นด้วยหรือไม่ ควรทำหรือไม่ควรทำอย่างไรจึงเหมาะสม เพราะเหตุใดจึงคิดเช่นนั้น เป็นต้น
2.4 การกำหนดระดับคุณภาพของผลงาน
ระดับคุณภาพของผลงานควรกำหนดเป็น 4 ระดับ โดยกำหนดจากระดับ 1 ไปหาระดับ 4
ตัวอย่าง เช่น ระดับคุณภาพของผลงานการคัดลายมือ
ระดับ 1 เขียนพยัญชนะต้น สระ วรรณยุกต์ ตัวสะกด การันต์ ถูกต้อง
ระดับ 2 มี 1 และเขียนเส้นได้ตรงหรือโค้งและมีหัวถูกต้อง
ระดับ 3 มี 2 และเขียนตัวพยัญชนะขนานกันอย่างสวยงาม
ระดับ 4 มี 3 และเขียนตัวเต็มบรรทัด

2.5 การเขียนกิจกรรมการเรียนรู้
2.5.1 การเขียนคำถามท้าทาย
คำถามท้าทายคือคำถามที่กระตุ้นให้หาความรู้/แนวทางปฏิบัติตามที่กำหนดไว้ในเป้าหมาย เช่น เป้าหมายระบุว่าอธิบายหลักการสร้างคำซ้อนได้ ควรตั้งคำถามท้าทายว่าการสร้างคำซ้อนมีหลักการอย่างไรบ้าง
2.5.2 การจัดกิจกรรมการเรียนรู้
หลักของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คือต้องจัดให้บรรลุเป้าหมายทุกข้อและเกิดผลงานตามที่กำหนดทุกรายการ ดังนั้นจึงต้องยึดเป้าหมายเป็นหลักในการจัดกิจกรรม ถ้ามีกิจกรรมหลายชั่วโมงในแผนเดียวกันควรแยกแยะให้ชัดเจนว่าแต่ละชั่วโมงมีการจัดกิจกรรมอย่างไรบ้างและในการใช้สื่อ/อุปกรณ์ ต้องระบุว่าในการจัดกิจกรรมนั้นๆ ใช้สื่อ/อุปกรณ์ใด นอกจากนี้ควรมีคำถามสำคัญเพื่อกระตุ้นให้หาคำตอบของคำถามท้าทาย
2.6 การกำหนดสื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้
ให้ระบุเฉพาะสิ่งที่กล่าวถึงในกิจกรรมการเรียนรู้และต้องระบุให้ชัดเจน เช่น ใบความรู้ เรื่อง............... ตัวอย่างหิน ได้แก่ หินอัคนี หินตะกอน หินแปร นอกจากนี้ต้องเรียง ตามลำดับการใช้
2.7 การเขียนสรุปผลการเรียนรู้
ให้เขียนด้วยลายมือหลังจากเสร็จสิ้นการจัดการเรียนรู้ โดยบันทึกว่าด้านความรู้ความคิด
ด้านกระบวนการหรือด้านคุณธรรมจริยธรรมและค่านิยม มีผลการเรียนรู้เป็นที่น่าพอใจหรือไม่
เพียงใด มีปัญหาหรือไม่อย่างไร ถ้ามีจะแก้ไขปัญหาอย่างไร















ตอนที่ 3
ตัวอย่างแนวการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้
ตัวอย่างที่ 1 (ปรับปรุงจากผลงานของครูทิพย์อุษา ชูพงศ์)
สาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
เรื่อง การอ่านออกเสียงร้อยแก้ว เวลา 3 ชั่วโมง
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
1. เป้าหมายการเรียนรู้
1.1 ด้านความรู้ความคิด       อธิบายหลักการอ่านออกเสียงร้อยแก้วได้
1.2 ด้านกระบวนการ           สาธิตการอ่านออกเสียงร้อยแก้วได้ถูกต้องตามหลักการอ่าน
1.3 ด้านคุณธรรมจริยธรรมและค่านิยม (ไม่มี)
2. สาระสำคัญ
การอ่านออกเสียงร้อยแก้วที่ถูกต้องตามหลักการอ่านมีความสำคัญต่อคุณภาพของการอ่าน
การศึกษาเรื่องการอ่านออกเสียงร้อยแก้ว ทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการอ่านออก
เสียงและสามารถอ่านออกเสียงได้ถูกต้องตามหลักการอ่านออกเสียง
3. ผลงานที่แสดงผลการเรียนรู้
ความสามารถในการอ่านออกเสียงร้อยแก้ว
4. แนวทางประเมินผลงาน
ระดับ 1 อ่านออกเสียงถูกต้องตามหลักการ 1 ข้อ
ระดับ 2 อ่านออกเสียงถูกต้องตามหลักการ 2 ข้อ
ระดับ 3 อ่านออกเสียงถูกต้องตามหลักการ 3 ข้อ
ระดับ 4 อ่านออกเสียงถูกต้องตามหลักการทุกข้อ
5. กิจกรรมการเรียนรู้
ชั่วโมงที่ 1 คำถามท้าทาย : การอ่านออกเสียงร้อยแก้วมีหลักการอ่านอย่างไรบ้าง
5.1 ครูสุ่มนักเรียน 2-3 คน เพื่อทดลองอ่านออกเสียงร้อยแก้วตามเนื้อหาเดียวกันที่ครูกำหนดแล้ว
ร่วมกันอภิปรายส่วนดีและส่วนบกพร่องในการอ่านของแต่ละคน
5.2 นักเรียนศึกษาเรื่องหลักการอ่านออกเสียงร้อยแก้วจากหนังสือเรียนวิชาภาษาไทยชั้น ม.4
หน้า.........ถึง หน้า.......... แล้วตอบคำถามต่อไปนี้
-หลักการอ่านออกเสียงร้อยแก้วมีกี่ข้อ อะไรบ้าง
5.3 นักเรียนร่วมกันอภิปรายคำตอบและบันทึกข้อสรุปลงในสมุด
5.4 นักเรียนฝึกอ่านออกเสียงร้อยแก้วตามหลักการอ่าน
ชั่วโมงที่ 2-3
5.5 ครูสุ่มนักเรียน 2-3 คน ซึ่งมีทั้งนักเรียนชายและนักเรียนหญิง การอ่านออกเสียงร้อยแก้ว
แล้วให้เพื่อนๆร่วมกันติชมและให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับหลักการอ่าน
5.6 ครูฟังการอ่านออกเสียงร้อยแก้วของนักเรียนแต่ละคน พร้อมกับแจ้งผลการประเมิน
ความสามารถในการอ่าน
6. สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้
หนังสือเรียนวิชาภาษาไทยชั้น ม.4 สำนักพิมพ์...................หน้า.............ถึง หน้า.................
7. สรุปผลการเรียนรู้
7.1 ด้านความรู้ความคิด..............................................................
7.2 ด้านกระบวนการ..................................................................
7.3 ด้านคุณธรรมจริยธรรมและค่านิยม......................................
7.4 ปัญหาด้านการสอน..............................................................
7.5 แนวทางแก้ไขปัญหา...........................................................
ลงชื่อ....................................ผู้สอน
(....................................)
วันที่.............................................

หมายเหตุ แผนนี้เลือกความสามารถในการอ่านเป็นผลงาน เพราะเป็นพฤติกรรมที่ครอบคลุม
เป้าหมายด้านอื่นๆทุกด้านซึ่งเป็นเป้าหมายสูงสุดของการอ่านออกเสียง









ตัวอย่างที่ 2 (ปรับปรุงจากผลงานของครูวาสนา รัตนพันธ์)
สาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
เรื่อง Change (I need a change) เวลา 2 ชั่วโมง
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
1. เป้าหมายการเรียนรู้
1.1 ด้านความรู้ความคิด
ระบุพฤติกรรมที่ดี (Good Habit) และพฤติกรรมที่ไม่ดี (Bad Habit) ของตนเองได้
1.2 ด้านกระบวนการ
วางแผนปรับปรุงพฤติกรรมของตนเองได้
1.3 ด้านคุณธรรมจริยธรรมและค่านิยม
มีความคิดเห็นที่ดีต่อการปรับปรุงพฤติกรรมของตนเอง
2. สาระสำคัญ
การรู้สึกสำนึกในการปรับปรุงพฤติกรรมของตนเองย่อมมีผลดีต่อการดำรงชีวิตทุกด้าน
การศึกษาเรื่อง I need a change ทำให้รู้จักพฤติกรรมของตนเองทั้งด้านดีและด้านไม่ดีและทำให้
เกิดแรงจูงใจในการปรับปรุงพฤติกรรมของตนเอง
3. ผลงานที่แสดงผลการเรียนรู้
แผนการปรับปรุงพฤติกรรมของตนเอง
4. แนวทางประเมินผลงาน
ระดับ 1 กำหนดปรับปรุงข้อเสีย ร้อยละ 0-25 ของข้อเสียทั้งหมด
ระดับ 2 กำหนดปรับปรุงข้อเสีย ร้อยละ 26-50 ของข้อเสียทั้งหมด
ระดับ 3 กำหนดปรับปรุงข้อเสีย ร้อยละ 51-75 ของข้อเสียทั้งหมด
ระดับ 4 กำหนดปรับปรุงข้อเสีย ร้อยละ 76-100 ของข้อเสียทั้งหมด
 5. กิจกรรมการเรียนรู้
ชั่วโมงที่ 1 คำถามท้าทาย : What do you have a good habit and a bad habit ?
5.1 นักเรียนศึกษาคำศัพท์เกี่ยวกับลักษณะพฤติกรรมของมนุษย์จากหนังสือเรียนวิชาภาษาอังกฤษ
ชั้นม.5 ของสำนักพิมพ์.........................หน้า.....ถึง หน้า...............แล้วอภิปรายเพื่อจำแนก
เป็น Good Habit และ Bad Habit
5.2 นักเรียนพิจารณาตนเองว่าพฤติกรรมใดเป็น Good Habit และพฤติกรรมใดเป็น Bad Habit
แล้วบันทึกในรูปของตาราง
ชั่วโมงที่ 2 คำถามท้าทาย : What is some good advice changing a bad habit ?
5.3 แบ่งกลุ่มนักเรียนกลุ่มละ 5 คนศึกษาพฤติกรรมของคนในภาพที่กำหนดให้แล้วระบุว่าคนใน
ภาพใดเป็น Good Habit และภาพใดเป็น Bad Habit พร้อมให้ข้อเสนอแนะในการ
ปรับปรุง Bad Habit
5.4 นักเรียนเลือกปรับปรุง Bad Habit ของตนเองตามความสมัครใจ โดยระบุชื่อ
Bad Habit ทั้งหมดและชื่อ Bad Habit ที่ตั้งใจจะปรับปรุง พร้อมคิดร้อยละของ Bad Habit
ที่จะปรับปรุง
5.5 อภิปรายแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับความสำคัญของการปรับปรุงพฤติกรรม
6. สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้
6.1 หนังสือเรียนวิชาภาษาอังกฤษชั้น ม.5 ของสำนักพิมพ์.................หน้า.....ถึง หน้า...............
6.2 รูปภาพคนที่แสดงพฤติกรรมด้านดีและด้านไม่ดี
7. สรุปผลการเรียนรู้ (ใช้ข้อความเดียวกับตัวอย่างที่ 1)
หมายเหตุ แผนนี้เลือกแผนการปรับปรุงพฤติกรรมของตนเองเป็นผลงาน เพราะเป็นพฤติกรรม
ที่ครอบคลุมเป้าหมายด้านอื่นๆ ทุกด้านซึ่งเป็นเป้าหมายสูงสุดการปรับปรุงพฤติกรรม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น